ข้อดีของการที่องค์กรสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
หากธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำงานเข้ากับเทคโนโลยีได้นั้นจะส่งผลให้เกิดข้อดีต่อธุรกิจ ที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสและเข้าใจความต้องการของ “ตลาด” ในอนาคตได้ดีขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดหรือผู้ตามที่ชาญฉลาด การขยายขอบเขตธุรกิจ และการสร้างตลาดใหม่ เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
โดยตัวอย่างของบริษัทที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ ได้แก่
- 3M ที่เน้นให้พนักงานในองค์กรเสนอความคิดเห็นต่างเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
- Muji ที่เลือกใช้การทำ Collaboration เพื่อให้เกิด Innovation ผสมผสานกับเทคโนโยลีที่ทาง Muji มี ทำให้เกิดการพัฒนาของการทำ R&D ในรูปแบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
- iPod ของ Apple ผลผลิตจากการร่วมกันสร้างสรรค์ระหว่างวิศวกร 35 คนจากหลากหลายองค์กร เช่น Philips, IDEC, General Magic, Apple, Connextix และ WebTV ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างหุ้นส่วนทางธุรกิจ รวมถึงความรวดเร็วในการตัดสินใจและความโปร่งใสในกระบวนการพัฒนา ส่งผลให้สามารถดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ iPod ได้ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน และสามารถสร้างรูปแบบใหม่ของไฟล์เพลงดิจิตอล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับเครื่องเล่นเพลง ทำให้สร้างความแตกต่างจากเครื่องเล่นเพลงดิจดตอลทั่วไป ปัจจุบัน iPod สามารถขายได้มากกว่า 10 ล้านเครื่องและสร้างรายได้ให้แก่ Apple จำนวนมหาศาล
ข้อเสียของการที่องค์กรไม่สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
ถ้าธุรกิจทำการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจได้ไม่ดี หรือไม่ประสบความสำเร็จ อาจเกิดจากความไม่ร่วมมือกันในแผนกต่างๆ และขาดการสนับสนุนจากผู้นำหรือผู้บริหาร หรือบุคลากรในองค์กรมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง, การขาดความรู้ความชำนาญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในองค์กร, การขาดการสื่อสาร และการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำเทคโนโลยีไปให้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ ก็จะส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการเข้าใจตลาด และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว ส่งผลถึงโอกาสในการแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่น้อยลงด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องกระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจด้วย หรือที่เรียกว่า Technology Management Process โดยมีขั้นตอนดังนี้
• Technology Strategy Development เป็นการกำหนด Vision และ Mission รวมถึงเป้าหมายของบริษัทให้ชัดเจน
• Technology Needs Assessment ต้องมีการศึกษาทั้ง Internal และ External เพื่อทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับองค์กร
• Technology Gap Analysis เป็นการดูทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร และดูว่ายังขาดทรัพยากรใดอยู่บ้าง เพื่อนำมาปรับใช้กับเทคโนโลยีใหม่
• Technology Availability Assessment เพื่อดูว่าในตลาดมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง และมีเทคโนโลยีใดที่เหมาะสมกับองค์กรบ้าง
• Technology Evaluation and Selection เป็นการประเมิณดูว่าเทคโนโลยีที่เลือกมานั้น สอดคล้องกับองค์กรหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
• Technology Acquisition เป็นการตัดสินใจว่าจะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อย่างไร เช่นซื้อมา หรือทำ Partnership เป็นต้น
• Technology Adaptation เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้เข้ากับองค์กรของเรา หรือเชื่อมโยงองค์กรให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่
• Technology Implementation เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
• Technology Improvement ถึงแม้จะได้เทคโนโลยีใหม่มาใช้ในองค์กรแล้ว ก็ยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดด้วย
• Technology Imitation โดยปกติแล้วการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จะต้องมีการลงทุนกับ R&D เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นการยากสำหรับบริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรมากนัก การเป็น Technology Imitation จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะต้องทำให้ได้ในเวลาอันสั้น และนำเทคโนโลยีนั้นออกสู่ตลาดก่อนที่ผู้นำเทคโนโลยีจะสามารถคืนทุนในส่วนของ R&D ที่ลงทุนไปได้
• Technology Innovation การทำ Imitation อาจทำให้เราสามารถสู้กับองค์กรที่เป็นผู้นำได้ แต่ก็ไม่สามารถทำให้ยั่งยืนได้ในระยะยาว องค์กรจะต้องมีการพัฒนา R&D ของตนเองเพื่อเปลี่ยนจาก Imitation เป็น Innovation
ความเชื่อมโยงของโครงสร้างขององค์กร, ข้อมูล, เทคโนโลยี, สินค้าและบริการ เข้ากับธุรกิจ
นอกจากที่ธุรกิจสามารถพิจารณาทำการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบอื่นๆภายในธุรกิจให้เกิดความเชื่อมโยงที่สมบูรณ์มากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจากภาพรูปบ้าน (Appendix 2) ที่ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลักของธุรกิจ อันได้แก่
1) โครงสร้างขององค์กร (Organization) เพื่อแสดงลักษณะของตำแหน่งงาน, บุคคลที่อยู่ในในองค์กร เช่น ในกระบวนการผลิตสินค้า จำเป็นที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในกระบวนการผลิต, หรือขั้นตอนการทำ Inbound Logistics แผนกหรือบุคคลใดที่รับผิดชอบในส่วนของการรับสินค้า หรือตรวจสอบสินค้า
2) ข้อมูล (Data) ที่เป็นรายละเอียดข้อมูลของลูกค้า, สูตรการผลิต หรือเอกสารต่างๆ
3) เทคโนโลยี (Technology) ที่เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ที่สายการผลิตมีการนำโปรแกรมใดมาช่วยในการบันทึกข้อมูลการผลิต หรือ เทคโนโลยีใดที่จะสามารช่วยให้กระบวนการผลิตทำได้รวดเร็วขึ้น อาจเป็นเทคโนโลยีสายพานลำเลียง, เทคโนโลยีเครื่องฉีกพ่นสี เป็นต้น
4) สินค้าและบริการ (Product/Service) ที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินการภายในองค์กร และส่งไปสู่มือลูกค้า
5) กระบวนการทำงานในธุรกิจ (Business Process) ที่เป็น Business Model ของธุรกิจ และขั้นตอนการทำงานต่างๆภายในองค์กร
โดย องค์ประกอบ 4 ส่วนแรก Organization, Data, Technology และ Product/Service เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้กระบวนการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรทราบว่าฟังก์ชั่นการทำงานนั้นๆ มีใครเป็นคนดูแล, ใช้ข้อมูลอะไรในการทำงาน, มีเทคโนโลยีใดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และเกิด out put อะไรจากฟังก์ชั่นงานนั้นๆ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆในธุรกิจ และทำให้กระบวนการทำงานภายในธุรกิจเกิดความเชื่อมโยงได้อย่างสมบูรณ์
Thursday, September 25, 2008
The need for aligning technology with business
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
การดำเนินกิจการต่างๆในปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีขนาดองค์กรที่เล็กหรือใหญ่ ต่างล้วนมีความต้องการให้ธุรกิจของตนมีกำไร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่อยู่ในโลกใบเดียวกันได้อย่างยั่งยืน บางธุรกิจมีความโดดเด่นในเรื่องของ Cost leadership บางธุรกิจมีความแตกต่างของตัวสินค้าที่ไม่เหมือนใคร (differentiation) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร ที่จะจัดการเพื่อให้เกิด Competitive Advantage ของธุรกิจของตน แต่การจะทำให้ธุรกิจหนึ่งๆ ก้าวไปเหนือคู่แข่งนั้นสิ่งสำคัญที่หนีไม่พ้นคือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือเหมาะสมกับธุรกิจมาใช้เพื่อให้กระบวนการทำงานต่างๆภายในองค์กรดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตจากการใช้เวลาทำงานที่ลดลง, ลดปริมาณของเสีย, ลดการใช้แรงงานคน หรือเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้า/บริการ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระแสโลกาภิวัติของโลกในทุกวันนี้ ที่ทุกธุรกิจจำเป็นที่ต้องรู้จักกับคำว่า “เทคโนโลยี” ในขณะที่ธุรกิจต้องพยายามพัฒนาองค์กรให้ทันตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้ข้ากับธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง องค์ความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาปรับประยุกต์ แล้วนำมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งผลทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบจับต้องได้และจับต้องไม่ได้”
Dr. Nathasit Gedsri
เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ยาวนานต่อไปในอนาคต ดังนั้นจำเป็นที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีให้เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานทุกๆอย่างในองค์กร ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี แต่เทคโนโลยียังมีความสัมพันธ์กับ Social, Ecological, Economic และ Political &Ethic อีกด้วย ทั้งนี้เมื่อพิจรณาโจทย์คำถามที่ว่า “อธิบายความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ” สามารถอธิบายได้ 2 มุมมอง โดยมุมมองแรกจะเป็นการเชื่อมโยงเทคเข้ากับ Value Chain ของธุรกิจ และมุมมองที่ 2 เป็นการเชื่อมโยง เข้ากับธุรกิจโดยใช้ Technology Roadmaps โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Value Chain
หากพิจารณาจากห่วงโซ่แห่งคุณค่า หรือ Value Chain ที่ประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ ภายในธุรกิจ ตั้งแต่การรับสินค้า จัดเก็บ ไปจนถึงการส่งสินค้าออกไปสู่ลูกค้า ในทุกๆกระบวนการทำงานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการจัดการแทบทุกขั้นตอน โดยอาจมีความแตกต่างกันในรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแต่ละประเภทธุรกิจ ทั้งนี้ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นฟังก์ชั่นของ Value Chain ที่เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมประเภทการพิมพ์โดยอธิบายว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนใด
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยี เข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Technology Roadmaps
ในการดำเนินกิจการที่ดีเพื่อให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน นั้นธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และเส้นทางเดินของตนเอง เพื่อให้เกิดภาพของแผนการดำเนินงานที่จับต้องได้ในระยะยาว หรือที่เรียกว่าการทำ Technology Roadmaps (TRM)
คำว่า Roadmaps หมายถึง “A roadmap is an extended look at the future of chosen field of inquiry composed from the collective knowledge and imagination of the brightest drivers of the change” หรือเป็นขบวนการวิเคราะห์ รวบรวมปัจจัยต่างๆ แล้ววิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจนั่นเอง
Robert Galvin
ส่วนคำว่า Technology Roadmaps (TRM) หรือ การทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กร หมายถึง “กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์ความเชื่อมโยง Business Strategy และ Technology Strategy เข้าไว้ด้วยกัน”
Dr. Nathasit Gedsri
โดยประโยชน์ของการทำ TRM จะเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Business Strategy เข้ากับ Technology Strategy และรวมถึงการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานของธุรกิจในแต่ละแผนก ในขณะเดียวกันการทำ TRM จะเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ที่ให้ความสนใจในการนำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยี (TRM) เข้ามาใช้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงของธุรกิจ ดังต่อไปนี้
1. Linking strategy to product plans and technology plans
2. Focusing on planning with priority setting
3. Enabling corporate/national-level technology plans
4. Increasing the potential for technology re-use
5. Leveraging the company’s existing technological strengths
6. Visualizing all concurrent programs
7. Reducing duplicate efforts
8. Aligning the appropriate resources with the business objective and strategic priorities
9. Improving communication and ownership of plans
ทั้งนี้การทำ TRM ที่เป็นการเขียนขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับธุรกิจในช่วงเวลาต่างๆ ถือเป็นความท้าทายต่อการเตรียมและจัดองค์กร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือกับแผนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญจะอยู่ที่เทคโนโลยีในด้านใดบ้างที่จะผูกโยงไปกับกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีไปตอบสนองต่อประเด็น หรือกลยุทธ์ เช่น
– การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนายาใหม่ เพื่อต่อสู้กับโรคติดต่อใหม่ การพัฒนายาใหม่นั้นต้องการความรู้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารสนเทศชีวภาพ (bioinformatics) ระบบฐานข้อมูลโมเลกุล (molecular database) แบบจำลองคอมพิวเตอร์ (computer modeling) การทำเหมืองข้อมูล (data mining) รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (high performance computing) เพื่อช่วยในการคำนวณ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ต้องจัดเตรียมเพื่อการพัฒนายาตัวใหม่ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบความสามารถของแผนกต่างๆในองค์กร และเขียนเป็นขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้แต่ละแผนกทราบถึงสิ่งที่ตนเองจะต้องจัดทำ เพื่อให้บรรลุจุดมุมหมายเดียวกันคือการพัฒนายาใหม่ขององค์กร
จากการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจในมุมมองของ Value Chain และ Technology Roadmaps ตามที่ได้กล่าวมา อาจมีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆเช่น การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับลูกค้า (CRM), การเชื่อมโยงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ธุรกิจ อาทิ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนตาบอด เป็นต้น
การดำเนินกิจการต่างๆในปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีขนาดองค์กรที่เล็กหรือใหญ่ ต่างล้วนมีความต้องการให้ธุรกิจของตนมีกำไร เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่อยู่ในโลกใบเดียวกันได้อย่างยั่งยืน บางธุรกิจมีความโดดเด่นในเรื่องของ Cost leadership บางธุรกิจมีความแตกต่างของตัวสินค้าที่ไม่เหมือนใคร (differentiation) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ของแต่ละองค์กร ที่จะจัดการเพื่อให้เกิด Competitive Advantage ของธุรกิจของตน แต่การจะทำให้ธุรกิจหนึ่งๆ ก้าวไปเหนือคู่แข่งนั้นสิ่งสำคัญที่หนีไม่พ้นคือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือเหมาะสมกับธุรกิจมาใช้เพื่อให้กระบวนการทำงานต่างๆภายในองค์กรดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตจากการใช้เวลาทำงานที่ลดลง, ลดปริมาณของเสีย, ลดการใช้แรงงานคน หรือเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้า/บริการ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในกระแสโลกาภิวัติของโลกในทุกวันนี้ ที่ทุกธุรกิจจำเป็นที่ต้องรู้จักกับคำว่า “เทคโนโลยี” ในขณะที่ธุรกิจต้องพยายามพัฒนาองค์กรให้ทันตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้ข้ากับธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
“คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง องค์ความรู้ที่สามารถนำมาพัฒนาปรับประยุกต์ แล้วนำมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งผลทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เป็นแบบจับต้องได้และจับต้องไม่ได้”
Dr. Nathasit Gedsri
เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ยาวนานต่อไปในอนาคต ดังนั้นจำเป็นที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีให้เป็นหัวใจหลักของการดำเนินงานทุกๆอย่างในองค์กร ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี แต่เทคโนโลยียังมีความสัมพันธ์กับ Social, Ecological, Economic และ Political &Ethic อีกด้วย ทั้งนี้เมื่อพิจรณาโจทย์คำถามที่ว่า “อธิบายความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ” สามารถอธิบายได้ 2 มุมมอง โดยมุมมองแรกจะเป็นการเชื่อมโยงเทคเข้ากับ Value Chain ของธุรกิจ และมุมมองที่ 2 เป็นการเชื่อมโยง เข้ากับธุรกิจโดยใช้ Technology Roadmaps โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Value Chain
หากพิจารณาจากห่วงโซ่แห่งคุณค่า หรือ Value Chain ที่ประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ ภายในธุรกิจ ตั้งแต่การรับสินค้า จัดเก็บ ไปจนถึงการส่งสินค้าออกไปสู่ลูกค้า ในทุกๆกระบวนการทำงานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี เพื่อช่วยในการจัดการแทบทุกขั้นตอน โดยอาจมีความแตกต่างกันในรูปแบบการนำเทคโนโลยีมาใช้ในแต่ละประเภทธุรกิจ ทั้งนี้ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นฟังก์ชั่นของ Value Chain ที่เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมประเภทการพิมพ์โดยอธิบายว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่วนใด
ความจำเป็นของการเชื่อมโยงเทคโนโลยี เข้ากับธุรกิจ ในมุมมองของ Technology Roadmaps
ในการดำเนินกิจการที่ดีเพื่อให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืน นั้นธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์ และเส้นทางเดินของตนเอง เพื่อให้เกิดภาพของแผนการดำเนินงานที่จับต้องได้ในระยะยาว หรือที่เรียกว่าการทำ Technology Roadmaps (TRM)
คำว่า Roadmaps หมายถึง “A roadmap is an extended look at the future of chosen field of inquiry composed from the collective knowledge and imagination of the brightest drivers of the change” หรือเป็นขบวนการวิเคราะห์ รวบรวมปัจจัยต่างๆ แล้ววิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจนั่นเอง
Robert Galvin
ส่วนคำว่า Technology Roadmaps (TRM) หรือ การทำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์กร หมายถึง “กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์ความเชื่อมโยง Business Strategy และ Technology Strategy เข้าไว้ด้วยกัน”
Dr. Nathasit Gedsri
โดยประโยชน์ของการทำ TRM จะเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Business Strategy เข้ากับ Technology Strategy และรวมถึงการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานของธุรกิจในแต่ละแผนก ในขณะเดียวกันการทำ TRM จะเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร ที่ให้ความสนใจในการนำแผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยี (TRM) เข้ามาใช้ประโยชน์ในการเชื่อมโยงของธุรกิจ ดังต่อไปนี้
1. Linking strategy to product plans and technology plans
2. Focusing on planning with priority setting
3. Enabling corporate/national-level technology plans
4. Increasing the potential for technology re-use
5. Leveraging the company’s existing technological strengths
6. Visualizing all concurrent programs
7. Reducing duplicate efforts
8. Aligning the appropriate resources with the business objective and strategic priorities
9. Improving communication and ownership of plans
ทั้งนี้การทำ TRM ที่เป็นการเขียนขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับธุรกิจในช่วงเวลาต่างๆ ถือเป็นความท้าทายต่อการเตรียมและจัดองค์กร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือกับแผนที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งสำคัญจะอยู่ที่เทคโนโลยีในด้านใดบ้างที่จะผูกโยงไปกับกลยุทธ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีไปตอบสนองต่อประเด็น หรือกลยุทธ์ เช่น
– การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนายาใหม่ เพื่อต่อสู้กับโรคติดต่อใหม่ การพัฒนายาใหม่นั้นต้องการความรู้ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารสนเทศชีวภาพ (bioinformatics) ระบบฐานข้อมูลโมเลกุล (molecular database) แบบจำลองคอมพิวเตอร์ (computer modeling) การทำเหมืองข้อมูล (data mining) รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (high performance computing) เพื่อช่วยในการคำนวณ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ต้องจัดเตรียมเพื่อการพัฒนายาตัวใหม่ จึงจำเป็นต้องตรวจสอบความสามารถของแผนกต่างๆในองค์กร และเขียนเป็นขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อให้แต่ละแผนกทราบถึงสิ่งที่ตนเองจะต้องจัดทำ เพื่อให้บรรลุจุดมุมหมายเดียวกันคือการพัฒนายาใหม่ขององค์กร
จากการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจในมุมมองของ Value Chain และ Technology Roadmaps ตามที่ได้กล่าวมา อาจมีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆเช่น การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับลูกค้า (CRM), การเชื่อมโยงเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี และ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็มีการนำเทคโนโลยีไปเชื่อมโยงส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่ธุรกิจ อาทิ การเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนตาบอด เป็นต้น
Subscribe to:
Posts (Atom)