ข้อดีของการที่องค์กรสามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
หากธุรกิจสามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำงานเข้ากับเทคโนโลยีได้นั้นจะส่งผลให้เกิดข้อดีต่อธุรกิจ ที่จะช่วยให้มองเห็นโอกาสและเข้าใจความต้องการของ “ตลาด” ในอนาคตได้ดีขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพและโอกาสในการเป็นผู้นำตลาดหรือผู้ตามที่ชาญฉลาด การขยายขอบเขตธุรกิจ และการสร้างตลาดใหม่ เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
โดยตัวอย่างของบริษัทที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ ได้แก่
- 3M ที่เน้นให้พนักงานในองค์กรเสนอความคิดเห็นต่างเพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
- Muji ที่เลือกใช้การทำ Collaboration เพื่อให้เกิด Innovation ผสมผสานกับเทคโนโยลีที่ทาง Muji มี ทำให้เกิดการพัฒนาของการทำ R&D ในรูปแบบใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
- iPod ของ Apple ผลผลิตจากการร่วมกันสร้างสรรค์ระหว่างวิศวกร 35 คนจากหลากหลายองค์กร เช่น Philips, IDEC, General Magic, Apple, Connextix และ WebTV ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างหุ้นส่วนทางธุรกิจ รวมถึงความรวดเร็วในการตัดสินใจและความโปร่งใสในกระบวนการพัฒนา ส่งผลให้สามารถดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ iPod ได้ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน และสามารถสร้างรูปแบบใหม่ของไฟล์เพลงดิจิตอล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับเครื่องเล่นเพลง ทำให้สร้างความแตกต่างจากเครื่องเล่นเพลงดิจดตอลทั่วไป ปัจจุบัน iPod สามารถขายได้มากกว่า 10 ล้านเครื่องและสร้างรายได้ให้แก่ Apple จำนวนมหาศาล
ข้อเสียของการที่องค์กรไม่สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจ
ถ้าธุรกิจทำการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับธุรกิจได้ไม่ดี หรือไม่ประสบความสำเร็จ อาจเกิดจากความไม่ร่วมมือกันในแผนกต่างๆ และขาดการสนับสนุนจากผู้นำหรือผู้บริหาร หรือบุคลากรในองค์กรมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง, การขาดความรู้ความชำนาญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในองค์กร, การขาดการสื่อสาร และการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำเทคโนโลยีไปให้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ หรือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ ก็จะส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการเข้าใจตลาด และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว ส่งผลถึงโอกาสในการแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆที่น้อยลงด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องกระบวนการในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจด้วย หรือที่เรียกว่า Technology Management Process โดยมีขั้นตอนดังนี้
• Technology Strategy Development เป็นการกำหนด Vision และ Mission รวมถึงเป้าหมายของบริษัทให้ชัดเจน
• Technology Needs Assessment ต้องมีการศึกษาทั้ง Internal และ External เพื่อทำการตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะกับองค์กร
• Technology Gap Analysis เป็นการดูทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร และดูว่ายังขาดทรัพยากรใดอยู่บ้าง เพื่อนำมาปรับใช้กับเทคโนโลยีใหม่
• Technology Availability Assessment เพื่อดูว่าในตลาดมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง และมีเทคโนโลยีใดที่เหมาะสมกับองค์กรบ้าง
• Technology Evaluation and Selection เป็นการประเมิณดูว่าเทคโนโลยีที่เลือกมานั้น สอดคล้องกับองค์กรหรือไม่ มากน้อยเพียงใด
• Technology Acquisition เป็นการตัดสินใจว่าจะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้อย่างไร เช่นซื้อมา หรือทำ Partnership เป็นต้น
• Technology Adaptation เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้เข้ากับองค์กรของเรา หรือเชื่อมโยงองค์กรให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่
• Technology Implementation เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
• Technology Improvement ถึงแม้จะได้เทคโนโลยีใหม่มาใช้ในองค์กรแล้ว ก็ยังต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดด้วย
• Technology Imitation โดยปกติแล้วการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จะต้องมีการลงทุนกับ R&D เป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นการยากสำหรับบริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรมากนัก การเป็น Technology Imitation จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะต้องทำให้ได้ในเวลาอันสั้น และนำเทคโนโลยีนั้นออกสู่ตลาดก่อนที่ผู้นำเทคโนโลยีจะสามารถคืนทุนในส่วนของ R&D ที่ลงทุนไปได้
• Technology Innovation การทำ Imitation อาจทำให้เราสามารถสู้กับองค์กรที่เป็นผู้นำได้ แต่ก็ไม่สามารถทำให้ยั่งยืนได้ในระยะยาว องค์กรจะต้องมีการพัฒนา R&D ของตนเองเพื่อเปลี่ยนจาก Imitation เป็น Innovation
ความเชื่อมโยงของโครงสร้างขององค์กร, ข้อมูล, เทคโนโลยี, สินค้าและบริการ เข้ากับธุรกิจ
นอกจากที่ธุรกิจสามารถพิจารณาทำการเชื่อมโยงเทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบอื่นๆภายในธุรกิจให้เกิดความเชื่อมโยงที่สมบูรณ์มากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจากภาพรูปบ้าน (Appendix 2) ที่ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลักของธุรกิจ อันได้แก่
1) โครงสร้างขององค์กร (Organization) เพื่อแสดงลักษณะของตำแหน่งงาน, บุคคลที่อยู่ในในองค์กร เช่น ในกระบวนการผลิตสินค้า จำเป็นที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในกระบวนการผลิต, หรือขั้นตอนการทำ Inbound Logistics แผนกหรือบุคคลใดที่รับผิดชอบในส่วนของการรับสินค้า หรือตรวจสอบสินค้า
2) ข้อมูล (Data) ที่เป็นรายละเอียดข้อมูลของลูกค้า, สูตรการผลิต หรือเอกสารต่างๆ
3) เทคโนโลยี (Technology) ที่เป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ที่สายการผลิตมีการนำโปรแกรมใดมาช่วยในการบันทึกข้อมูลการผลิต หรือ เทคโนโลยีใดที่จะสามารช่วยให้กระบวนการผลิตทำได้รวดเร็วขึ้น อาจเป็นเทคโนโลยีสายพานลำเลียง, เทคโนโลยีเครื่องฉีกพ่นสี เป็นต้น
4) สินค้าและบริการ (Product/Service) ที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินการภายในองค์กร และส่งไปสู่มือลูกค้า
5) กระบวนการทำงานในธุรกิจ (Business Process) ที่เป็น Business Model ของธุรกิจ และขั้นตอนการทำงานต่างๆภายในองค์กร
โดย องค์ประกอบ 4 ส่วนแรก Organization, Data, Technology และ Product/Service เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้กระบวนการทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรทราบว่าฟังก์ชั่นการทำงานนั้นๆ มีใครเป็นคนดูแล, ใช้ข้อมูลอะไรในการทำงาน, มีเทคโนโลยีใดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และเกิด out put อะไรจากฟังก์ชั่นงานนั้นๆ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆในธุรกิจ และทำให้กระบวนการทำงานภายในธุรกิจเกิดความเชื่อมโยงได้อย่างสมบูรณ์
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment