Friday, October 10, 2008

Discuss the differences on strategic focuses between radical and incremental innovation?

Executive Summary

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิด การกระทํา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทํามาก่อนเลย หรือสิ่งใหม่ที่เคยทํามาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม โดยสามารถจำแนกประเภทของนวัตกรรมเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ Radical Innovation และ Incremental innovation นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) หรือเรียกได้อีกอย่างว่านวัตกรรมแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value) ความเชื่อเดิม (belief) ตลอดจนระบบคุณค่า (value system) ของสังคมอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมและระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนไป ส่วนนวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation) เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่อย่างเป็นลำดับขั้น เช่น การเพิ่มความจุของหน่วยความจำใน USB Disk ที่มากขึ้นและเล็กลงเรื่อย ๆ
ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีหรือ Innovation ขององค์กร ถ้าเปรียบเทียบถึงความเสี่ยงจะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนานวัตกรรมแบบ Radical จะมีความเสี่ยงมากกว่า Incremental อย่างไรก็ตามผลตอบแทนที่ได้ย่อมมากกว่าเช่นกัน ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมและปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ นำไปซึ่งการพัฒนางค์กรและธุรกิจอย่างแท้จริง

ความหมายของนวัตกรรม (Innovation)
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคําว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทํา หรือวัตถุใหม่ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่นๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทํามาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทํามาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) หรือเรียกได้อีกอย่างว่านวัตกรรมแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous Innovation) หมายถึง ขบวนการเสนอสิ่งใหม่ที่ใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนแปลงค่านิยม (value) ความเชื่อเดิม (belief) ตลอดจนระบบคุณค่า (value system) ของสังคม อย่างสิ้นเชิง เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่ ซึ่งมีความแตกต่างจากวิธีการเดิมอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนแปลงไปตามการค้นพบ ซึ่งอาจจะไม่มีความต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดก็ได้ การพัฒนาในรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูงทั้งจากการผลิต การทำ R&D การตลาด ความใหม่ของเทคโนโลยี โดยต้องใช้เวลาและการลงทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงจาก Floppy Disk มาเป็น USB Disk (กมลภัทร บุญค้ำ, 2543) นอกจากนี้ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation) ยังได้รับการให้นิยามโดยผู้เชี่ยวชาญว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ลดต้นทุนการผลิตลงอย่างมาก อีกทั้งยังเพิ่มสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ขึ้นนับสิบเท่าหรือไม่ก็เพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับความสามารถของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ภายใต้คำนิยามดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดเจนว่านวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนไม่สามารถได้มาง่ายๆ ตัวอย่างเช่นอินเตอร์-เน็ท (Internet) จัดว่าเป็นนวัตกรรมหนึ่งในยุคโลกข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอระบบอินเตอร์เน็ท ทำให้ค่านิยมเดิมที่เชื่อว่า โลกข้อมูลข่าวสารจำกัดอยู่ในวงเฉพาะทั้งในด้านเวลาและสถานที่นั้นเปลี่ยนไป อินเตอร์เน็ทเปิดโอกาสให้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลอย่างไร้ขีดจำกัดทั้งในด้านของเวลาและระยะทาง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทำให้ระบบคุณค่าของข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป

นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation) หมายถึง รูปแบบของการแข่งขันที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการปรับปรุงสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลัก (Core components) เป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์และกระบวนการไปสู่รูปแบบใหม่อย่างเป็นลำดับขั้น หรือเปลี่ยนแปลงไปเพียงบางส่วนโดยมีการพัฒนามาจากรูปแบบเดิมของผลิตภัณฑ์ๆ เช่น การเพิ่มความจุของหน่วยความจำใน USB Disk ที่มากขึ้นและเล็กลงเรื่อย ๆ

ตัวอย่างของ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง (Radical Innovation)
3G เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดียและส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูง เป็นก้าวกระโดดที่สำคัญของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย เนื่องจากเป็นการพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่มิใช่เสียงพูด (Non-voice) สูงมากขึ้น เทคโนโลยี 3G มีการพัฒนาช่องสัญญาณความถี่และความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเดิม รวมทั้งมีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลายทั้งในด้าน Software Content และ Application ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
วิวัฒนาการของเทคโนโลยี 3G เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ทั้งในด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย และความพร้อมของตลาด ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันพัฒนาตลาดไปในทิศทางที่สมเหตุสมผลทั้งสำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ดังนี้
ผู้ให้บริการ (Operator) ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างของเครือข่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่ายสัญญาณวิทยุมากขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่ายโดยรวม
- การลงทุนติดตั้งสถานีฐานขึ้นใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยี 3G
- การลงทุนกับ Software Upgrade เครือข่ายและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวิทยุ
- การลงทุนกับเครื่องโทรศัพท์ โดยมีการพัฒนาในส่วนของ Battery, หน่วยความจำ

ผู้ใช้บริการ (End User)
- การลงทุนซื้อเครื่องโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่สามารถรองรับเทคโนโลยีของ 3G

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา การพัฒนาเทคโนโลยีของ 3G มีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ ทั้งทางด้านการลงทุนในการสร้างเครือข่าย การพัฒนา Software ควบคุมทั้งอุปกรณ์ส่งสัญญาณและรับสัญญาณ เป็นการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และกระบวนการจากรูปแบบเดิมไปสู่รูปแบบใหม่อย่างสิ้นเชิง ในด้านของผู้ใช้เองก็ยังต้องเปลี่ยนตัวโทรศัพท์มือถือเป็นรุ่นที่ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ ซึ่งเป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่สัมพันธ์กับรูปแบบของ นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หรือ Radical Innovation

ตัวอย่างของ นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Incremental innovation)

นวัตกรรม (Innovation) ส่วนมากจะเป็นแบบ Incremental คือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยโดยเป็นการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น วินโดวส์ 98 ไป วินโดวส์ 2000 เป็นต้น จากการศึกษาของ Hollander’s famous study of Du Pont rayon plants พบว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ incremental จะก่อให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วฉับพลัน การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform หรือ Robust เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เกิดผลดีต่อองค์กรได้ เพราะหากได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น platform หรือเป็น family แล้ว การคิดค้นนวัตกรรมทีละเล็กทีละน้อยจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่อยู่ใน family นั้น ซึ่งเป็นการยืดระยะเวลาของช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบ Robust design ของ Boeing airlines หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์จะเห็นได้ชัดเจน เช่น Intel มี 286, 386, 486, Pentium, Celeron, Centrino, Duo core เป็นต้น ชัดเจนมากที่สุดคือ Pentium 1-4 และ AMD เช่น Athlon และ Duron เป็นต้น ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือ Walkman ที่เป็นวิทยุขนาดพกพา เริ่มพัฒนามาจากระบบวิทยุและเทป และได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็น minidisk, CD, DVD และเครื่องเล่น MP3 ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนากระบวนการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากความคิดที่เป็น Platform ต้นแบบ

นอกจากนี้ยังมีการนำ Incremental Innovation มาใช้กับ culture ขององค์กร ตังอย่างเช่นบริษัทเครือซีเมนต์ไทย มีการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ปัจจุบัน ดัดแปลง หรือปรับปรุงโพรเซสให้ดีขึ้น ถ้าในแง่วัฒนธรรมองค์กร มี 4 เรื่องที่บริษัทเครือซีเมนต์ไทยพยายามสร้าง คือ Think Out of the Box (การคิดนอกกรอบให้ได้) Open-minded (การเปิดใจ รับฟังคนอื่น ให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมา) Risk Taker (ความกล้าตัดสินใจ กล้าลองผิดลองถูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้) และ Personal Mastery (นิสัยหมั่นค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง) นอกจากนี้ เทคโนโลยีอินทราเน็ตถูกนำมาใช้ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยมีทีมรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับ Innovation รวบรวม Best Practice ขององค์กรต่างๆ รวมทั้งหนังสือดีๆ ก็ถูกจัดเป็น Book Briefing ไว้ในเว็บไซด์ เป็น e-learning สำหรับพนักงานทุกคน นอกเหนือจากการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Innovation มาบรรยายอย่างต่อเนื่อง และมีการจัด Communication Package ใช้สื่อภายในองค์กรแบบดั้งเดิม ทำหนังสือพิมพ์ขนาดแท็บลอยด์ “Inno News” ส่งถึงพนักงานทุกคน

ในการสร้าง Innovation Culture ของเครือซิเมนต์ไทย เริ่มมาจาก Incremental innovation ซึ่งอยู่ในระดับกลาง เกิดจากการต่อยอดความคิดสร้างเป็นสิ่งใหม่ที่มีคุณค่ากว่าเดิม ซึ่งวิธีการที่นำมาใช้เป็นรูปแบบในการเรียนรู้ คือ ทำ E-Learning, Training มีการจัดค่ายให้กับนักศึกษาเพื่อทำการคัดเลือกบุคลากร เป็นต้น ส่วนในเรื่องของการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรม มีการตั้งเงินรางวัลที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทางเครือเครือซิเมนต์ไทยได้นำหลักการและทฤษฎีต่างๆ มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว สร้างสรรค์กิจกรรมนำร่องและสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเกิดการคิดสร้างสรรค์จนเกิดนวัตกรรม ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจจนถึงในปัจจุบันและยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สรุป

ทุกวันนี้อุตสาหกรรมต่างๆ มุ่งที่จะเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ครอบคลุมตลาดแบบ Global ในการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค ความไม่แน่นอนในแนวโน้ม (trend) ของ segment และตลาด แม้ว่าการพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เป็นการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีความเสี่ยงเพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังพัฒนานั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และจะมีผลกระทบกับสินค้าหรือบริการเดิมหรือไม่ นั่นคือความเสี่ยง แต่เมื่อหันมาพิจารณาหากเราต้องการที่จะพัฒนานวัตกรรมให้เป็นแบบ Radical แน่นอนว่ายิ่งจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าจะพัฒนาอะไรและจะมีผลกระทบ อย่างไรก็ตามการบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมีคำกล่าวว่า “เสี่ยงมาก ผลตอบแทนมาก” Hi Risk Hi return เพราะการที่หากมีนวัตกรรมที่เป็น Radical Innovation เกิดขึ้นจะสามารถครอบครองตลาดพร้อมทั้งดึงลูกค้าในตลาดเดิมมายังตลาดใหม่ได้ทั้งหมด เพราะหากมีทางเลือกสินค้าทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (Substitution Goods) อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่ใช้กล้องแบบฟิล์มไปใช้กล้องดิจิตอลทั่วโลก แน่นอนหากผู้นำตลาดกล้องฟิล์มไม่สามารถปรับตัวไปผลิต Radical อย่างกล้องดิจิตอลได้ เขาก็ไม่สามารถอยู่ในอุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปได้อีกต่อไป ผู้ที่เลือกจะพัฒนา Radical อย่างกล้องดิจิตอลนอกจากเป็นผู้นำแล้วยังอาจครองตลาดได้ระยะยาวอีกด้วย
เจ้าของผลงาน คุณ Areewan Yangtad

No comments: