ปัจจุบัน Technology มีบทบาทต่อการดำรงชีวิต การทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องนำ Technology มาใช้เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ จากการที่ประเทศไทยกลายเป็น Sandwich ที่อยู่ตรงกลางระหว่างการมีคุณภาพที่ดี แต่ก็ถูก Block ด้วยสายตาของตลาดโลกว่าสินค้าของไทยก็งั้นๆ ไม่น่าจะสู้สิ่งที่ผลิตมาจากประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศแถบยุโรปได้ แม้จะพยายามให้เป็นผู้ผลิตที่สามารถทำต้นทุนให้ต่ำ ก็ทำได้ไม่มากเท่าประเทศจีน ไทยจึงต้องอาศัยการคิดค้น Technology หรือ Innovation มาใช้เพื่อให้กลายเป็นผู้นำในตลาดโลก
ซึ่งการที่ไทยจะใช้กลยุทธ์ด้าน Technology และ Innovation เป็นการผลักดันให้เป็นผู้นำในตลาดได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วย
1. กำหนดไว้ใน Business Strategy ว่ามันคืออะไร และสำรวจตัวเองว่าเราอยู่ใน Business แบบไหน เราจะทำอะไรต่อ ความต้องการของเราคืออะไร และจุดแข็ง จุดอ่อนของบริษัทเราคืออะไร
2. กำหนด Technology Strategy Development โดยทำการหา Technology ที่ต้องการ และทำการประเมินตนเองว่าตอนนี้ เราอยู่ในจุดไหนเรามีความสามารถอะไรบ้างกับ Technology ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตสิ่งที่เราต้องการจะมี และต้องการจะเป็นคืออะไร มีส่วนใดที่ขาดหายไปบ้าง และส่วนนั้นมันคืออะไรเพื่อทำการหา Gap Analysis และทำการปิด Gap นั้น
3. ทำการหา Technology ที่เหมาะกับองค์กร ซึ่งอาจทำได้โดยทำ Technology Scanning คือการหา Technology ด้วยการ Search ใน Google หรือไปตามงาน Exhibition หรืองาน Trade Show ต่างๆ หรือการเก็บข้อมูลเพื่อทำนายว่าในอนาคตแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยปัจจัยที่จะมาช่วยในการวิเคราะห์ และเลือก Technology คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ, คู่แข่งขัน, วิธีในการตัดสินใจ, ตลาด และกลยุทธ์ที่องค์กรจะใช้ เป็นต้น
4. เมื่อกำหนดปัจจัยได้แล้ว จึงทำการจัดลำดับความสำคัญของ Technology ว่า Technology ที่จะนำมาใช้อะไรที่จำเป็นจะต้องมี หรือ Technology ที่จะนำมาใช้ควรมีสามารถใช้ได้กับ Innovation ที่องค์กรจะทำการ Create ในอนาคตได้ด้วยหรือไม่
5. นำ Technology ที่ได้มาใช้กับองค์กร พร้อมทั้งทำการ Adaptation ร่วมกับ Implementation ไปด้วย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดเป็น Technology Fit โดยทำการปรับ Technology ทั้งใหม่ และเก่าให้เข้ากัน โดยให้ Technology เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน
6. เมื่อมีความชำนาญเกิดขึ้น ลำดับต่อไปคือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการ Move จาก Imitator ให้กลายเป็น Innovator ให้ได้
ซึ่งการที่จะทำให้ Innovation ของเราสำเร็จในตลาดจนเป็นผู้นำกลายเป็น Innovator ได้นั้น จะมี Key Success Factor จะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้, องค์กรต้องไม่หยุดนิ่ง ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, มีการ Open Innovation คือการให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในนวัตกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการออกแบบความคิดเห็นการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หรือการร่วมกัน Vote Design ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แล้วทำไมองค์กรถึงต้องขวนขวาย และโหยหาการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็เนื่องจากการที่เป็น Innovator นั้น มีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น
- เมื่อเข้าไปเป็นเจ้าแรกสามารถตั้งราคาได้ก่อน เข้าตลาดได้ก่อน มีคนจำได้มากกว่า (First Mover Advantage)
- ทำให้มี Market Position ที่ดีกว่า ในด้านของการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ววาง Position ให้กลายเป็น Premium
- เมื่อเข้าเป็นเจ้าแรก ก็สามารถ Set Standard ให้แก่อุตสาหกรรมนั้นๆ ได้
- เมื่อมีการ Set Standard ก็จะสามารถสร้าง Barrier to entry ได้
- สามารถสร้างเครือข่ายของผู้ใช้ สร้างชุมชนได้เร็วกว่า
- ทำให้ลูกค้าที่จะทำการ Switch Brand เปลี่ยนไปใช้คู่แข่งเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากเราเข้าถึงตัวผู้บริโภคก่อน สร้างชุมชนได้ก่อน
แต่ในขณะเดียวกัน Innovation ก็มีข้อเสียเปรียบในหลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถนำไปสู่การมีนวัตกรรมที่ล้มเหลวในบริษัทนั้นๆ เนื่องจาก
- การที่จะเป็นผู้นำในอุตสากรรมจะต้องมีการลงทุนใน Technology และ Innovation ที่สูง เนื่องจากต้องใช้ Technology มาวิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการมีทีมวิจัยที่มีความสามารถจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมาก ซึ่งเมื่อวิจัยออกมาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะมันเป็นการลองผิดลองถูก ซึ่งถ้าผลการวิจัยที่ออกมามันไม่ Work จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่เกิดประโยชน์
- ครั้นเมื่อมีการวิจัยออกมาจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็เสี่ยงในเรื่องของมีผู้เลียนแบบในสินค้านั้นๆ ทำให้ไม่สามารถ เก็บเกี่ยวกำไรของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่
- หรือเมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้ว ผู้บริโภคกลับยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เช่นกรณีของ บริษัท Motorola ซึ่งพยายามที่จะผลักดันให้มีการติดต่อสื่อสารได้จากทุกแห่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลทราย Sahara หรือยอดเขา Everest ซึ่งต้องใช้เงินจำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และติดตั้งดาวเทียมจำนวน 88 ดวงรอบโลก ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้โทรศัพท์จากเกาะที่อยู่ไกลๆ หรือจากขั้วโลกเหนือ และพบว่าความต้องการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จากต่างประเทศมีเพียงเล็กน้อย และที่แย่ที่สุดคือโทรศัพท์มีขนาดใหญ่เทอะทะ เพราะต้องรองรับความซับซ้อนของอุปกรณ์ไร้สาย และมีต้นทุนที่สูงมากถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ค่าบริการสูงตามไปด้วย ซึ่งบริษัท Motorola ประสพความสำเร็จกับธุรกิจนี้ในเวลา 10 ปีต่อมา
- ข้อเสียเปรียบในด้านของการเป็นผู้นำในตลาดทำให้ตกลงในกับดักที่ตนได้สร้างขึ้นไว้ เช่นกรณีของบริษัท Motorola บริษัทเกือบต้องล้มละลายเนื่องจากบริษัทยังต้องมีต้นทุนในการบำรุงรักษาดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกอีกเดือนละ 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อ Technology นี้ตก Trend ไป Motorola ต้องเป็นผู้รับผิดชอบนำดาวเทียมออกจากวงโคจร และทำลายทิ้งเพื่อความปลอดภัย เป็นเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงมากต่อมวลมนุษยชาติ ในเรื่องของเศษซากดาวเทียมหากตกลงสู่พื้นโลก อาจทำให้ประเทศรัสเซียเข้าใจผิดว่าโดนโจมตี อาจทำให้เกิดสงครามโลกได้
ซึ่งการที่ไทยจะใช้กลยุทธ์ด้าน Technology และ Innovation เป็นการผลักดันให้เป็นผู้นำในตลาดได้นั้น ต้องเริ่มต้นด้วย
1. กำหนดไว้ใน Business Strategy ว่ามันคืออะไร และสำรวจตัวเองว่าเราอยู่ใน Business แบบไหน เราจะทำอะไรต่อ ความต้องการของเราคืออะไร และจุดแข็ง จุดอ่อนของบริษัทเราคืออะไร
2. กำหนด Technology Strategy Development โดยทำการหา Technology ที่ต้องการ และทำการประเมินตนเองว่าตอนนี้ เราอยู่ในจุดไหนเรามีความสามารถอะไรบ้างกับ Technology ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตสิ่งที่เราต้องการจะมี และต้องการจะเป็นคืออะไร มีส่วนใดที่ขาดหายไปบ้าง และส่วนนั้นมันคืออะไรเพื่อทำการหา Gap Analysis และทำการปิด Gap นั้น
3. ทำการหา Technology ที่เหมาะกับองค์กร ซึ่งอาจทำได้โดยทำ Technology Scanning คือการหา Technology ด้วยการ Search ใน Google หรือไปตามงาน Exhibition หรืองาน Trade Show ต่างๆ หรือการเก็บข้อมูลเพื่อทำนายว่าในอนาคตแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป โดยปัจจัยที่จะมาช่วยในการวิเคราะห์ และเลือก Technology คือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ, คู่แข่งขัน, วิธีในการตัดสินใจ, ตลาด และกลยุทธ์ที่องค์กรจะใช้ เป็นต้น
4. เมื่อกำหนดปัจจัยได้แล้ว จึงทำการจัดลำดับความสำคัญของ Technology ว่า Technology ที่จะนำมาใช้อะไรที่จำเป็นจะต้องมี หรือ Technology ที่จะนำมาใช้ควรมีสามารถใช้ได้กับ Innovation ที่องค์กรจะทำการ Create ในอนาคตได้ด้วยหรือไม่
5. นำ Technology ที่ได้มาใช้กับองค์กร พร้อมทั้งทำการ Adaptation ร่วมกับ Implementation ไปด้วย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดเป็น Technology Fit โดยทำการปรับ Technology ทั้งใหม่ และเก่าให้เข้ากัน โดยให้ Technology เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน
6. เมื่อมีความชำนาญเกิดขึ้น ลำดับต่อไปคือการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการ Move จาก Imitator ให้กลายเป็น Innovator ให้ได้
ซึ่งการที่จะทำให้ Innovation ของเราสำเร็จในตลาดจนเป็นผู้นำกลายเป็น Innovator ได้นั้น จะมี Key Success Factor จะต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้, องค์กรต้องไม่หยุดนิ่ง ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง, มีการ Open Innovation คือการให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในนวัตกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการออกแบบความคิดเห็นการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หรือการร่วมกัน Vote Design ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
แล้วทำไมองค์กรถึงต้องขวนขวาย และโหยหาการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นๆ ก็เนื่องจากการที่เป็น Innovator นั้น มีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น
- เมื่อเข้าไปเป็นเจ้าแรกสามารถตั้งราคาได้ก่อน เข้าตลาดได้ก่อน มีคนจำได้มากกว่า (First Mover Advantage)
- ทำให้มี Market Position ที่ดีกว่า ในด้านของการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ววาง Position ให้กลายเป็น Premium
- เมื่อเข้าเป็นเจ้าแรก ก็สามารถ Set Standard ให้แก่อุตสาหกรรมนั้นๆ ได้
- เมื่อมีการ Set Standard ก็จะสามารถสร้าง Barrier to entry ได้
- สามารถสร้างเครือข่ายของผู้ใช้ สร้างชุมชนได้เร็วกว่า
- ทำให้ลูกค้าที่จะทำการ Switch Brand เปลี่ยนไปใช้คู่แข่งเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากเราเข้าถึงตัวผู้บริโภคก่อน สร้างชุมชนได้ก่อน
แต่ในขณะเดียวกัน Innovation ก็มีข้อเสียเปรียบในหลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถนำไปสู่การมีนวัตกรรมที่ล้มเหลวในบริษัทนั้นๆ เนื่องจาก
- การที่จะเป็นผู้นำในอุตสากรรมจะต้องมีการลงทุนใน Technology และ Innovation ที่สูง เนื่องจากต้องใช้ Technology มาวิจัย และพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการมีทีมวิจัยที่มีความสามารถจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมาก ซึ่งเมื่อวิจัยออกมาก็ไม่สามารถบอกได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะมันเป็นการลองผิดลองถูก ซึ่งถ้าผลการวิจัยที่ออกมามันไม่ Work จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่เกิดประโยชน์
- ครั้นเมื่อมีการวิจัยออกมาจนผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แล้วก็เสี่ยงในเรื่องของมีผู้เลียนแบบในสินค้านั้นๆ ทำให้ไม่สามารถ เก็บเกี่ยวกำไรของผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่
- หรือเมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดแล้ว ผู้บริโภคกลับยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เช่นกรณีของ บริษัท Motorola ซึ่งพยายามที่จะผลักดันให้มีการติดต่อสื่อสารได้จากทุกแห่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทะเลทราย Sahara หรือยอดเขา Everest ซึ่งต้องใช้เงินจำนวน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และติดตั้งดาวเทียมจำนวน 88 ดวงรอบโลก ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการใช้โทรศัพท์จากเกาะที่อยู่ไกลๆ หรือจากขั้วโลกเหนือ และพบว่าความต้องการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จากต่างประเทศมีเพียงเล็กน้อย และที่แย่ที่สุดคือโทรศัพท์มีขนาดใหญ่เทอะทะ เพราะต้องรองรับความซับซ้อนของอุปกรณ์ไร้สาย และมีต้นทุนที่สูงมากถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ค่าบริการสูงตามไปด้วย ซึ่งบริษัท Motorola ประสพความสำเร็จกับธุรกิจนี้ในเวลา 10 ปีต่อมา
- ข้อเสียเปรียบในด้านของการเป็นผู้นำในตลาดทำให้ตกลงในกับดักที่ตนได้สร้างขึ้นไว้ เช่นกรณีของบริษัท Motorola บริษัทเกือบต้องล้มละลายเนื่องจากบริษัทยังต้องมีต้นทุนในการบำรุงรักษาดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลกอีกเดือนละ 2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อ Technology นี้ตก Trend ไป Motorola ต้องเป็นผู้รับผิดชอบนำดาวเทียมออกจากวงโคจร และทำลายทิ้งเพื่อความปลอดภัย เป็นเงินจำนวน 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงมากต่อมวลมนุษยชาติ ในเรื่องของเศษซากดาวเทียมหากตกลงสู่พื้นโลก อาจทำให้ประเทศรัสเซียเข้าใจผิดว่าโดนโจมตี อาจทำให้เกิดสงครามโลกได้
เมื่อเห็นข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบของการมีนวัตกรรมแล้ว พบว่ามีข้อได้เปรียบอยู่มาก ซึ่งในด้านข้อเสียเปรียบนั้น บริษัทต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ข้อเสียเปรียบเหล่านั้นหมดไป จึงเกิดคำถามต่อมาว่าแล้วจะทำอย่างไรจึงจะทำให้องค์กรของเรามีนวัตกรรม
1. ต้องได้รับความเห็นชอบจาก Top Management โดยการกระทำทุกขั้นตอนต้องได้รับการอนุมัติ เช่น การจะให้องค์กรมีความเป็นผู้นำในนวัตกรรมนั้น ฝ่าย R&D ต้องเป็นพวก Think outside the box แต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นด้วย ให้ R&D คิด และวิจัยแค่ภายในห้องสี่เหลี่ยม มันก็ไม่สอดคล้องกัน และการคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ จะต้องใช้เงินเป็นตัวสนับสนุนค่อนข้างมาก ถ้าผู้บริหารไม่เห็นด้วย อาจจะไม่ให้งบในการวิจัย ก็จะทำให้งานไม่ก้าวหน้าได้
2. บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง ในการที่องค์กรจะเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำในนวัตกรรมนั้น ต้องได้การสนับสนุนในทุกภาคส่วน ไม่ใช่ค่ายฝ่าย R&D เท่านั้น ทุกคนต้องร่วมกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น
3. มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในความรับผิตชอบของการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีความรวดเร็วในการทำงาน สมกับที่ต้องการเป็นผู้นำในนวัตกรรมในอุตสาหกรรมนั้นๆ
4. มีการสนับสนุนให้เป็น Entrepreneurial Culture คือวัฒนธรรมในองค์กรที่สนับสนุนให้พนักงานเปรียบเสมือนเป็นผู้กอบการ กล้าที่จะเสี่ยง ในการให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของงานจะทำให้พนักงานทำงานได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น
5. ลดความซ้ำซ้อนในองค์กร คือการที่ระบบการทำงานต้องมีหลายขั้นตอน เช่น ทำ A เสร็จ ต้องไปให้หัวหน้าเซ็นต์ เมื่อทำไปถึงขั้น B เสร็จ ต้องไปให้หัวหน้าเซ็นต์อีกครั้ง จะพบว่ามีการทำงานที่หลายขั้นตอนทำให้ได้งานที่ล่าช้า เพราะฉะนั้นบริษัทจึงควรลดความซ้ำซ้อนของการทำงานเพื่อให้บริษัทมีความว่องไวต่อการดำเนินธุรกิจ
6. ต้องให้ความสะดวกสบายแก่พนักงานพอสมควร เช่น จะให้พนักงาน Think outside the box ก็จัดสถานที่ทำงานค่อนข้างอิสระ หรือมีระบบ communication ที่สะดวกสบาย
7. Interconnectedness เช่น จากเดิมมีการสื่อสารจาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4 ก็เปลี่ยนมาเป็นจาก 1 ไป 4 ได้เลย เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
8. มีระบบการบริหารงานแบบ System Openness
นอกจากนี้ องค์กรควรจัดกระบวนการจัดการในการพัฒนานวัตกรรมขององค์กรโดยการ
- ค้นหา และตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกขององค์กร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าวิจัย ศึกษาพฤติกรรมคู่แข่ง ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาช่องทางใหม่ให้แก่องค์กร
- การคัดเลือกเชิงกลยุทธ์ ที่เลือกจากชุดของนวัตกรรมที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จที่ได้จากการตรวจสอบ และค้นหาในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรพร้อมที่จะทุ่มเททรัพยากรในการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นความท้าทายอย่างมากขององค์กรในการเลือกสิ่งที่องค์กรมีอยู่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
- แหล่งที่มาของทางเลือก เป็นการเลือกใช้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ได้จากทำวิจัยและพัฒนาหรือการ ได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์
- การนำเอานวัตกรรมนั้นไปปฏิบัติจริง เป็นการเปลี่ยนจากแนวความคิดผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการสู่ตลาด หรือเป็นกระบวนการใหม่ๆ ภายในองค์กร
- การเรียนรู้จากการที่ลงมือปฏิบัติไปแล้ว ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขและบริหารจัดการว่าต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้กระบวนการดีขึ้น
- ค้นหา และตรวจสอบสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกขององค์กร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าวิจัย ศึกษาพฤติกรรมคู่แข่ง ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาช่องทางใหม่ให้แก่องค์กร
- การคัดเลือกเชิงกลยุทธ์ ที่เลือกจากชุดของนวัตกรรมที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จที่ได้จากการตรวจสอบ และค้นหาในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรพร้อมที่จะทุ่มเททรัพยากรในการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นความท้าทายอย่างมากขององค์กรในการเลือกสิ่งที่องค์กรมีอยู่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
- แหล่งที่มาของทางเลือก เป็นการเลือกใช้ความรู้ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ได้จากทำวิจัยและพัฒนาหรือการ ได้รับการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์
- การนำเอานวัตกรรมนั้นไปปฏิบัติจริง เป็นการเปลี่ยนจากแนวความคิดผ่านกระบวนการต่างๆ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการสู่ตลาด หรือเป็นกระบวนการใหม่ๆ ภายในองค์กร
- การเรียนรู้จากการที่ลงมือปฏิบัติไปแล้ว ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางแก้ไขและบริหารจัดการว่าต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้กระบวนการดีขึ้น
แม้จะมีผู้แนะนำอยู่แล้วว่าองค์กรควรดำเนินงานอย่างไร ควรเดินไปทางไหนเพื่อที่จะได้เป็นผู้นำแห่งด้านนวัตกรรม แต่ท้ายที่สุดก็ยังมีหลายองค์กรที่ล้มเหลวกับการนำนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่เกิดจาก
1. Culture - Culture ขององค์กร ถ้าวัฒนธรรมในองค์กรเป็นระบบการทำงานที่เฉื่อยชา แม้จะออกมาเป็นนโยบายว่าบริษัทมุ่งสู่การเป็นผู้นำในนวัตกรรม แต่ถ้ายังมี Culture ในการทำงานแบบเชื่องช้าก็ไม่สามารถก้าวมาเป็นผู้นำในตลาดด้านนวัตกรรมได้ หรือแม้กระทั่งถ้าไม่ได้การสนับสนุนจากพนักงาน หรือผู้บริหารเท่าที่ควรก็มีโอกาสทำให้ล้มเหลวได้
2. Ownership - ผู้ที่เป็น Manager ต้องให้ความสำคัญกับ Idea ต่างๆ ของพนักงาน พร้อมทั้งยอมที่จะเสียสละกับ Resource ที่หายาก เช่น เวลา และเงินในการคิดค้นแต่ละ Project ถ้า Manager ไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แล้วนวัตกรรมก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Manager ต้องมีความรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ ด้วย
3. Process – การสร้างแนวความคิดใหม่ๆ นั้น จำเป็นจะต้องใช้เวลา และทุ่มเททรัพยากรต่างๆ ให้กับบุคลากร เครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ ต้องส่งคนไป Train ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ ต้องมี Learning Curve ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาเป็นอย่างมาก แต่องค์กรต้องยอมลงทุนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้น ถ้าพบว่านวัตกรรมที่องค์กรกำลังดำเนินงานอยู่นั้นไม่น่าจะไปรอด องค์กรต้องกลับมาศึกษาว่าเพราะอะไร ซึ่งเหตุผลอาจเป็นเพราะบุคลากรไม่เพียงพอแต่ละคนมีงานที่ Overload หรือต้องดูด้วยว่าบุคคลนั้นชอบความท้าทายหรือไม่ ในขณะเดียวกันต้องให้บุคลากรพวกนี้มีอิสระต่อการคิด พร้อมทั้งเลือกคนให้เหมาะกับงานด้วย
4. Resource – หลายครั้งที่ CEO กล่าวในที่ประชุมว่าองค์กรเราต้องการนวัตกรรมมากกว่านี้ แล้วก็เปลี่ยนหัวข้อไปยังวาระอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว Innovation ต้องใช้เวลา ความคิด และเงิน ผู้ที่เป็นผู้คิดค้น Innovation ต้องการความเป็นอิสระ และเวลาในการคิด และการทำอะไรที่แปลกใหม่ที่พอจะมีความเป็นไปได้ในธุรกิจนั้นๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อมาช่วยในการทำงาน Innovation เป็นเรื่องของอนาคตก็จริง แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนในด้านต่างๆ ของวันนี้
5. Strategy – การให้คนในองค์กร Think out of the box ความคิดไม่มีกฎระเบียบ ไม่มีเขตแดนเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงทำให้เกิด Idea ขึ้นมากมาย แต่ในบาง Idea ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง อาจเป็นเพราะมีราคาที่สูงมาก แล้ว Idea ไหนล่ะ ที่จะสามารถใช้ได้จริง และมีราคาที่เหมาะสมด้วย บุคลากรควรที่จะใช้กลยุทธ์ที่มีอยู่แล้วในขององค์กร เพื่อผลักดันให้กลายเป็น Core Competency ของบริษัท และทำให้เกิดนวัตกรรมอย่างเหมาะสม
6. Fuzzy Front End – มีหลาย Idea ที่ซ่อนอยู่ในองค์กรแต่จะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ Idea ที่แปลกใหม่จริงๆ ซึ่ง Idea ที่แปลกใหม่เหล่านี้จะได้มาจากการมองตนเอง, มองคู่แข่ง, การเข้าถึงผู้บริโภค, การวิเคราะห์ Supplier, การศึกษาเรื่องประชากร, แนวโน้มของตลาด, เศรษฐกิจ, การเมือง และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง Innovation จะเกิดจากการระดมความคิดเห็นของคนในองค์กร การรวบรวมความคิดต่างๆ และการทุ่มเทเต็มที่กับ Project นั้นๆ หรืออาจเป็นช่วงเปลี่ยน Technology เช่น จากจอโทรทัศน์ธรรมดา เปลี่ยนมาเป็นจอ LCD หรือ Plasma ซึ่งมีข้อสงสัยว่าจอแบบไหนที่จะเข้ามาสู่ตลาดได้ก่อน นวัตกรรมทั้ง 2 ชนิดจะต้องรีบ Group ผู้ผลิต และผู้บริโภคให้ได้มาก เพื่อ Dominate ตลาดให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น และทำการลดราคาให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นเจ้าแห่งตลาดได้เร็วที่สุดด้วย
7. Diversity – เป็นการดีที่จะมีความหลากหลายทางความคิด เช่น บริษัทอาจตั้งทีมงานที่ทำงานกันคนละแผนกเพื่อให้เกิดการมองต่างมุม และอาจช่วยในการจัดการธุรกิจได้อย่างรอบคอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งในทีมอาจจะประกอบไปด้วยคนต่างเพศ ต่างอายุ เป็นต้น
8. Criteria & Metrics – ควรมีการสร้างมาตรฐานการทำงาน หรือมาตรฐานของสินค้า เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการบริการอยู่สม่ำเสมอ
9. Training & Coaching – ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานในเรื่องของนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถตลอดเวลา เพราะนวัตกรรมจะเกิดได้จากการคิดนอกกรอบ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้เกิดขึ้น
10. Idea Management System – องค์กรต้องมีระบบการจัดการความคิดที่ดีพอ นั่นหมายถึงต้องมีกรอบทางความคิดพอสมควร เช่น เมื่อคิด Idea ออกมาแล้วต้องมีความเป็นไปได้ที่จะขายได้ มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปใช้ได้จริง พร้อมทั้งมีราคาที่ สมเหตสมผล
11. ขั้นตอนการทำ Innovation จาก Innovation Funnel จะเห็นได้ว่ามี Idea ที่เกิดขึ้นมากมายบริเวณต้นกรวย ซึ่ง Idea เหล่านั้นจะผ่านการ Screening คือผ่านการ Screen ว่าแนวความคิดนั้นสามารถมีความเป็นไปได้หรือไม่ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดจะเป็นอย่างไร ปัจจัยอะไรบ้างที่ใช้ในการ Screen ขั้นตอนต่อมาคือ การทำ Prototyping หรือการทำตัวอย่างสินค้าเพื่อเป็นการบอกถึงความเป็นไปได้ในการใช้สินค้า เนื่องจากสินค้าบางประเภทมีรูปแบบที่สมบูรณ์ แต่เมื่อผลิตออกมาใช้จริงๆ กลับไม่ได้ตามสิ่งที่คาดหวังไว้ ขั้นตอนต่อมาคือ Product Development เมื่อได้สินค้าออกมาแล้ว ต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อใช้ และกลายเป็นเจ้าของตลาดในที่สุด
12. นวัตกรรมที่ตนสร้างเป็นเพียงความตื่นเต้นชั่วครู่ชั่วยามของผู้บริโภค สักพักก็จางหายไป องค์กรต้องคำนึงถึงการบริโภคแบบยั่งยืน คือสามารถเป็นการผลิตและการบริโภคที่สามารถตอบสนองความจำเป็นของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้สภาวะที่มีอยู่อย่างจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสงวนรักษาไว้ใช้ประโยชน์ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
13. พนักงานมีความเข้าใจผิดในนวัตกรรมว่า ต้องเป็นสินค้าที่ไฮเทคเท่านั้น เป็นการกระทำเฉพาะบางแผนก หรือบางอุตสาหกรรมเท่านั้น จริงๆ แล้ว เป็นสิ่งที่คนทั้งองค์กรต้องช่วยกัน
14. คนกลัวการเปลี่ยนแปลง เช่นในการทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้คนกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาท และความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดลง จึงทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งๆ ที่มีประโยชน์มากมาย
15. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ล้าหลังที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ
16. การให้ความรู้อย่างไม่กว้างขวาง ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคซึ่งจะก่อให้เกิดคนบางพวกที่ยอมรับเทคโนโลยี กับคนบางพวกที่ไม่ยอมรับเทคโนโลยีนี้
จะเห็นได้ว่ามีอุปสรรคมากมายที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวในนวัตกรรม องค์กรจะทำอย่างไรจึงจะสร้าง Innovation ให้คงอยู่ได้
- ขจัดความกลัวออกไป และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับการลองทำสิ่งใหม่ๆ เช่น ในองค์กรที่เป็นเจ้าของตลาดในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เนื่องจากส่วนมากจะคิดว่าจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่คุ้มกับสิ่งที่จะได้มา แต่ในองค์กรเล็กๆ ที่กล้าที่จะฉีกแนวทางการตลาดกลับเติบโตได้ ดั่งบริษัท 3M ที่แต่ก่อนเป็นบริษัทเล็กๆ แต่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นเจ้าตลาดในปัจจุบันได้
- กำหนดให้ Innovation เป็นส่วนหนึ่งในการวัด Performance ในแผนก R&D การวัด Performance คือผลิตภัณฑ์ที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเป็นแผนก Account การวัด Performance ก็อาจจะเป็นกระบวนการทำงานที่เร็วขึ้น มีความสะดวกสบายพร้อมทั้งมีความถูกต้องมากขึ้น เป็นต้น
- จัดทำเอกสารของกระบวนการ Innovation และจัดอบรม เพื่อเป็นการ Make Sure ว่าทุกคนจะเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
- องค์กรควรปรับให้พนักงานมีช่องทางในการคิดค้นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ให้พนักงานปฏิบัติเป็น Step 1 2 3 4 เท่านั้น แต่ต้องให้พนักงานถลองค้นหาแนวทางใหม่ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
- องค์กรต้องแน่ใจว่าทุกคนเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าจะเป็นองค์กรแห่ง Innovation เพื่อให้แต่ละคนเดินไปให้ทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีระบบที่รองรับความคิดเห็นของคนในองค์กร
- สอนพนักงานให้มองหาทางเลือกใหม่ๆ จากสิ่งแวดล้อม, จาก Technology และที่สำคัญมองลูกค้าว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่แท้จริงคืออะไร
- สอนให้พนักงานให้มีความหลากหลายทางความคิด ทั้งในด้านของ แนวความคิด ประสบการณ์ มุมมอง และความชำนาญต่างๆ ซึ่งความหลากหลายทางความคิดเหล่านี้ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง Innovation ด้วย
- สร้างมาตรฐานของกระบวนการทางความคิด แต่ไม่ควรให้มีข้อจำกัดมากเกินไปเพราะจะมีผลต่อความหลากหลายทางความคิด และการอิงกับอดีตมากไปจะไม่เปิดโอกาสในความหลากหลายทางความคิด
- ให้ความสำคัญกับทีม R&D เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือต่างๆ และทัศนคติที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ โดยให้มีการฝึกอบรมจึงจะประสพความสำเร็จได้
- มีการพัฒนาระบบการจัดการทางความคิด เช่น ให้การสนับสนุน Idea ที่มีความเป็นไปได้
13. พนักงานมีความเข้าใจผิดในนวัตกรรมว่า ต้องเป็นสินค้าที่ไฮเทคเท่านั้น เป็นการกระทำเฉพาะบางแผนก หรือบางอุตสาหกรรมเท่านั้น จริงๆ แล้ว เป็นสิ่งที่คนทั้งองค์กรต้องช่วยกัน
14. คนกลัวการเปลี่ยนแปลง เช่นในการทำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ทำให้คนกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาท และความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดลง จึงทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งๆ ที่มีประโยชน์มากมาย
15. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ล้าหลังที่จะเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ
16. การให้ความรู้อย่างไม่กว้างขวาง ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคซึ่งจะก่อให้เกิดคนบางพวกที่ยอมรับเทคโนโลยี กับคนบางพวกที่ไม่ยอมรับเทคโนโลยีนี้
จะเห็นได้ว่ามีอุปสรรคมากมายที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวในนวัตกรรม องค์กรจะทำอย่างไรจึงจะสร้าง Innovation ให้คงอยู่ได้
- ขจัดความกลัวออกไป และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับการลองทำสิ่งใหม่ๆ เช่น ในองค์กรที่เป็นเจ้าของตลาดในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีนวัตกรรมใหม่ๆ เนื่องจากส่วนมากจะคิดว่าจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่คุ้มกับสิ่งที่จะได้มา แต่ในองค์กรเล็กๆ ที่กล้าที่จะฉีกแนวทางการตลาดกลับเติบโตได้ ดั่งบริษัท 3M ที่แต่ก่อนเป็นบริษัทเล็กๆ แต่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นเจ้าตลาดในปัจจุบันได้
- กำหนดให้ Innovation เป็นส่วนหนึ่งในการวัด Performance ในแผนก R&D การวัด Performance คือผลิตภัณฑ์ที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเป็นแผนก Account การวัด Performance ก็อาจจะเป็นกระบวนการทำงานที่เร็วขึ้น มีความสะดวกสบายพร้อมทั้งมีความถูกต้องมากขึ้น เป็นต้น
- จัดทำเอกสารของกระบวนการ Innovation และจัดอบรม เพื่อเป็นการ Make Sure ว่าทุกคนจะเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง
- องค์กรควรปรับให้พนักงานมีช่องทางในการคิดค้นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ให้พนักงานปฏิบัติเป็น Step 1 2 3 4 เท่านั้น แต่ต้องให้พนักงานถลองค้นหาแนวทางใหม่ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร
- องค์กรต้องแน่ใจว่าทุกคนเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าจะเป็นองค์กรแห่ง Innovation เพื่อให้แต่ละคนเดินไปให้ทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้งมีระบบที่รองรับความคิดเห็นของคนในองค์กร
- สอนพนักงานให้มองหาทางเลือกใหม่ๆ จากสิ่งแวดล้อม, จาก Technology และที่สำคัญมองลูกค้าว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่แท้จริงคืออะไร
- สอนให้พนักงานให้มีความหลากหลายทางความคิด ทั้งในด้านของ แนวความคิด ประสบการณ์ มุมมอง และความชำนาญต่างๆ ซึ่งความหลากหลายทางความคิดเหล่านี้ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้าง Innovation ด้วย
- สร้างมาตรฐานของกระบวนการทางความคิด แต่ไม่ควรให้มีข้อจำกัดมากเกินไปเพราะจะมีผลต่อความหลากหลายทางความคิด และการอิงกับอดีตมากไปจะไม่เปิดโอกาสในความหลากหลายทางความคิด
- ให้ความสำคัญกับทีม R&D เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือต่างๆ และทัศนคติที่แตกต่างจากแผนกอื่นๆ โดยให้มีการฝึกอบรมจึงจะประสพความสำเร็จได้
- มีการพัฒนาระบบการจัดการทางความคิด เช่น ให้การสนับสนุน Idea ที่มีความเป็นไปได้
ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว คิดว่าการที่ Innovation มัน fail เพราะ ส่วนมากการที่บริษัทเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ มักจะเก็บกำไรเกินควร ซึ่งผู้บริโภคอาจมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนักของ Innovation หรืออาจเห็นคุณค่าแต่สู้ราคาไม่ไหวต้องรอเป็นระยะเวลาสักพักให้ราคามันตกลงมาก่อนจึงจะเข้าไปจับจองเป็นของตนเอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็เข้ามา Copy and Development ไปแล้ว ทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าเพราะไม่ต้องเสียค่า Research and Development การคาดการณ์กำไรของบริษัทจึงไม่เป็นไปตามที่หวัง หรืออาจเป็นเพราะระหว่างจุดเปลี่ยนของ Technology เกิด Fuzzy Front End ทำให้ไม่ทราบว่าแนวโน้มตลาดจะกลายเป็นยังไง ซึ่งถ้าเราสามารถทำให้ Radical Innovation เกิด ก็จะกลายเป็นผู้นำในตลาดได้ ซึ่งต้องทำการเข้าถึงผู้บริโภคให้เร็วที่สุด พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายให้ไวที่สุดด้วย ซึ่งตัวอย่างของนวัตกรรมที่ทำให้โลกได้ประโยชน์มากที่สุด โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า น่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าของโทมัสแอลวาเอดิสัน เพราะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาได้ตรงตามความต้องการของตลาด และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางด้วย
สรุป
นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใหม่ต่อตัวปัจเจกหรือหน่วยที่รับเอาสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ การรวมเอากิจกรรมที่นำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จเชิงพาณิชย์ การสร้างตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม การนำนวัตกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อให้เป็นผู้นำในตลาดนั้นมีความเป็นไปได้ต่อทุกบริษัท ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบริษัทที่ผลิตสินค้าเท่านั้น แต่การบริการก็สามารถนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำงานได้เช่นกัน นวัตกรรมมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แค่ให้องค์กรเป็นเจ้าแห่งตลาดเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงการพัฒนาของโลกที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่มวลมนุษยชาติ ซึ่งในการสร้างนวัตกรรมนั้นก็ไม่ง่าย และไม่ยากเกินความสามารถขึ้นอยู่กับว่าองค์กรจะใช้หลักใดในการบริหารทรัพยากรบุคคล และเงินให้มีคุณค่า ให้มีประโยชน์มากที่สุด ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะต้องแน่ใจกับการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมนั้น โดยจะต้องมีการ ออกแบบ วางแผน รวมถึงการควบคุมดูแล ให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด และเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งเราก็อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ทำให้เราระมัดระวังกับความเสี่ยงได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
เจ้าของผลงาน คุณ Korrakod Trongkarndee